
งานกิจการสภา

1. บทบาทด้านนิติบัญญัติ
บทบาทแรกของสมาชิกสภาท้องถิ่น คือ บทบาทด้านนิติบัญญัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งคล้ายคลึงกับสภาผู้แทนราษฎร ที่ทำหน้าที่นิติบัญญัติในระดับประเทศ จุดเด่นประการสำคัญของการกระจายอำนาจ คือ กระจายอำนาจทางนิติบัญญัติให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นออกกฎหมายบังคับใช้เองในท้องถิ่นตน หรือใช้เครื่องมือในการพัฒนา หากแต่กฎหมายที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจในการตรานี้ หรือ เรียกโดยทั่วไปว่า “ข้อบัญญัติท้องถิ่น”
สภาท้องถิ่นมีบทบาทและอำนาจหน้าที่ในการเสนอ พิจารณาและให้ความเห็นชอบร่างข้อบัญญัติท้องถิ่น ดังรายระเอียดดังนี้ คือ
1) สมาชิกสภาท้องถิ่นสามารถเสนอร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นสู่การพิจารณาของสภาท้องถิ่น ในกรณีที่เห็นว่าเรื่องนั้นจำเป็นต้องมีการออกกฎหมายออกมาบังคับ อย่างไรก็ตามก่อนการเสนอ สมาชิกสภาต้องมีการศึกษาว่าประเด็นดังกล่าวอยู่ในขอบเขตอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือไม่ มีตัวบทกฎหมายที่มีลำดับสูงกว่าให้อำนาจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตราข้อบัญญัติหรือไม่ และเนื้อหาสาระขัดกับกฎหมายแม่บทหรือไม่ จากประสบการณ์ที่ผ่านมาไม่พบว่ามีร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นที่เสนอโดยสมาชิกสภาท้องถิ่น
2) สมาชิกสภาท้องถิ่นมีบทบาทในการพิจารณาร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นที่เสนอโดยฝ่ายบริหารและประชาชน ปัจจุบันช่องทางในการเสนอร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นสู่การพิจารณาทำได้ 3 ทาง คือ 1) เสนอโดยสมาชิกสภาท้องถิ่น 2) เสนอโดยฝ่ายบริหาร และ 3) เสนอโดยประชาชน ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ให้สิทธิผู้มีสิทธิเลือกตั้งเกินกว่ากึ่งหนึ่งสามารถเสนอร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นสู่การพิจารณาของสภาท้องถิ่นได้
2. บทบาทด้านการควบคุมการบริหาร
บทบาทของสภาท้องถิ่นคือ บทบาทในการตรวจสอบถ่วงดุลให้การบริหารงานเป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนรวม รักษาสัญญาประชาคมที่ฝ่ายบริหารให้ไว้กับประชาชนในการรณรงค์หาเสียงและแถลงนโยบาย สมาชิกสภาท้องถิ่นไม่สามารถเปลี่ยนขั้วไปดำรงตำแหน่งของฝ่ายบริหารได้ หากนายกขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นลาออก ก็จะนำไปสู่การเลือกตั้งใหม่ ดังนั้นอย่าเน้นทำบทบาทฝ่ายค้าน หรือ ค้านทุกเรื่อง เรื่องใดที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์ควรดำเนินการ สมาชิกสภาควรสนับสนุน

3. บทบาทด้านการเป็นตัวแทนประชาชน
บทบาทสุดท้ายของสมาชิกสภาท้องถิ่น คือ ด้านการเป็นตัวแทนประชาชน สมาชิกสภาท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้งของประชาชน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องดำเนินบทบาทในฐานะเป็นตัวแทนของประชาชน โดย
- การสะท้อนปัญหา ความต้องการ และความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่
- จุดเชื่อมทางการสื่อสาร การกระจายข้อมูลข่าวสารระหว่างประชาชน ชุมชนกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
อำนาจหน้าที่ของสภาเทศบาล
สภาเทศบาลเป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของเทศบาลทำหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติพิจารณาให้ความเห็นชอบ กิจการสำคัญของเทศบาลตำบลโดยใช้มติ ของที่ประชุมสภาเทศบาลตำบล เป็นหลักมีประธานสภาเทศบาลตำบล เป็นหัวหน้าเป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของเทศบาลทำหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติพิจารณาให้
- ให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาเทศบาลตำบล เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารกิจการของเทศบาล
- พิจารณาและให้ความเห็นชอบร่างข้อบัญญัติเทศบาลตำบล ร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ประจำปีและร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมของเทศบาล
- ควบคุมการปฏิบัติงานของนายกเทศมนตรีตำบล ให้เป็นไปตามกฎหมาย นโยบาย แผนพัฒนาเทศบาลตำบล ข้อบัญญัติ ระเบียบ และข้อบังคับของทางราชการ
การประชุมสภาเทศบาลตำบลเกาะสีชัง
การประชุม สภาท้องถิ่นมี ๒ ประเภท คือ
(1) การประชุมสามัญ
(2) การประชุมวิสามัญ
1. การกำหนดสมัยประชุมสภาเทศบาลตำบลเกาะสีชัง
การกำหนดจำนวนสมัยประชุมสามัญประจำปี ระยะเวลาและวันเริ่มต้นประชุมสมัยสามัยประจำปีของแต่ละสมัยในปีนั้น วันเริ่มสมัยประชุมสามัญประจำปีของปีถัดไป และระยะเวลาของสมัยประชุมสามัญประจำปีสมัยแรกของปีถัดไป ให้ประธานสภาท้องถิ่นนำปรึกษาในที่ประชุมสามัญประจำปีสมัยแรกของแต่ละปี ซึ่งสภาเทศบาลตำบลเกาะสีชังได้กำหนดไว้ดังนี้
1. สมัยประชุมสามัญ สมัยแรก เริ่มวันที่ 1 กุมภาพันธ์ เป็นต้นไป มีกำหนด 30 วัน
2. สมัยประชุมสามัญ สมัยที่ 2 เริ่มวันที่ 1 มิถุนายน เป็นต้นไป มีกำหนด 30 วัน
3. สมัยประชุมสามัญ สมัยที่ 3 เริ่มวันที่ 1 สิงหาคม เป็นต้นไป มีกำหนด 30 วัน
4. สมัยประชุมสามัญ สมัยที่ 4 เริ่มวันที่ 1 พฤศจิกายน เป็นต้นไป มีกำหนด 30 วัน
การเปิดสมัยประชุมวิสามัญ ให้ดำเนินการ ดังนี้
กรณีเทศบาล นอกจากสมัยประชุมสามัญแล้ว เมื่อเห็นว่าเป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งเทศบาล ประธานสภาเทศบาล นายกเทศมนตรีหรือสมาชิก สภาเทศบาลจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภาเทศบาลที่อยู่ในตำแหน่ง อาจ ทำคำร้องยื่นต่อผู้ว่าราชการจังหวัดขอให้เปิดสมัยประชุมวิสามัญ เมื่อผู้ว่าราชการ จังหวัดพิจารณาแล้วเห็นสมควร ก็ให้เรียกประชุมวิสามัญได้ สมัยประชุมวิสามัญให้มีกำหนดไม่เกินสิบห้าวัน แต่ถ้าจะขยายเวลาออกไป อีก จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการจังหวัด
อำนาจหน้าที่ของสภาเทศบาล
สภาเทศบาลเป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของเทศบาลทำหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติพิจารณาให้ความเห็นชอบ กิจการสำคัญของเทศบาลตำบลโดยใช้มติ ของที่ประชุมสภาเทศบาลตำบล เป็นหลักมีประธานสภาเทศบาลตำบล เป็นหัวหน้าเป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของเทศบาลทำหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติพิจารณาให้
- ให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาเทศบาลตำบล เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารกิจการของเทศบาล
- พิจารณาและให้ความเห็นชอบร่างข้อบัญญัติเทศบาลตำบล ร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ประจำปีและร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมของเทศบาล
- ควบคุมการปฏิบัติงานของนายกเทศมนตรีตำบล ให้เป็นไปตามกฎหมาย นโยบาย แผนพัฒนาเทศบาลตำบล ข้อบัญญัติ ระเบียบ และข้อบังคับของทางราชการ