
บริการทะเบียนราษฎร
การแจ้งเกิด
กรณีคนเกิดในบ้าน : ให้เจ้าบ้านหรือบิดาหรือมารดา แจ้งต่อนายทะเบียนผู้แจ้งแห่งท้องถิ่นที่ที่มีคนเกิดภายใน 15 วัน นับแต่วันเกิด
กรณีคนเกิดนอกบ้าน : ให้บิดาหรือมารดา แจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่คนเกิดนอกบ้าน หรือแห่งท้องที่ที่พึงจะแจ้ง ภายใน 15 วัน นับแต่วันเกิด
หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
- บัตรประจำตัวของผู้แจ้ง
- บัตรประจำตัว หรือสำเนาทะเบียนบ้านของบิดามารดาเด็ก
- หนังสือรับรองการเกิด (ถ้ามี)
* ผู้ใดไม่มาแจ้งการเกิดภายใน 15 วัน นับแต่วันเกิด ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท *
หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง กรณี แจ้งการเกินกำหนดเวลา
- สำเนาประจำตัว และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ที่รับแจ้ง บิดา หรือมารดาเด็ก
- ผู้แจ้ง บิดา หรือมารดาเด็กจะต้องมาให้ถ้อยคำบันทึกการสอบสวนด้วยตัวเอง
- หนังสือรับรองการเกิด (ถ้ามี)
การแจ้งตาย
กรณีคนตายในบ้าน : ให้เจ้าบ้านแจ้งการตายต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้ง แห่งท้องที่ที่คนตาย ภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่วันตาย กรณีไม่มีเจ้าบ้านให้ผู้พบศพแจ้งภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาตายหรือเวลาพบศพ
กรณีคนตายนอกบ้าน : ให้บุคคลที่ไปกับผู้ตาย หรือผู้พบศพ แจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีการตายหรือพบศพ แล้วแต่กรณี หรือแห่งท้องที่ที่พึงจะแจ้งได้ภายใน 24 ชั่วโมงนับแต่เวลาตายหรือเวลาพบศพ ในกรณีเช่นนี้จะแจ้งต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจก็ได้
หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
- บัตรประจำตัวของผู้แจ้ง
- สำเนาทะเบียนบ้าน หรือบัตรประจำตัวของผู้ตาย
- หนังสือรับรองการตาย หรือหลักฐานการชันสูตรพลิกศพ (ถ้ามี)
* ผู้ใดไม่มาแจ้งการตาย ภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาตาย หรือพบศพต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท *
การทำบัตรประชาชน
ผู้ขอมีบัตรประจำตัวประชาชน จะต้องเป็นบุคคลสัญชาติไทย และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน มีอายุตั้งแต่ 15 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกิน 70 ปี บริบูรณ์
การขอมีบัตรครั้งแรก : เมื่ออายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ จะต้องยื่นคำขอมีบัตรภายใน 60 วัน โดยนำหลักฐานไปแสดง ดังนี้
หลักฐานที่นำมาแสดงในการขอมีบัตร
- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
- สูติบัตร (ในกรณีที่เปลี่ยนชื่อตัว – ชื่อสกุลของตัวเอง หรือบิดา / มารดา ต้องนำหลักฐานเปลี่ยนชื่อตัว – ชื่อสกุลมาด้วย) หรือ
- หลักฐานอื่นที่ทางราชการออกให้ เช่น สำเนาทะเบียนนักเรียน ใบสุทธิ ประกาศนียบัตร เป็นต้น
- กรณีบิดาและมารดา เป็นบุคคลต่างด้าว ให้นำใบสำคัญประจำตัวบุคคลต่างด้าว ของบิดาและมารดามาแสดงด้วย
- กรณีที่ไม่มาขอทำบัตรภายใน 60 วัน นับแต่วันที่มีอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ ให้นำเจ้าบ้าน หรือบิดา หรือมารดา พร้อมบัตรประจำตัวไปรับรองด้วย
* การขอมีบัตรประจำตัวประชาชนครั้งแรกไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการทำบัตรแต่อย่างใด
แต่หากไม่มาทำบัตรภายในกำหนด ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท *
การขอมีบัตรกรณีบัตรเดิมหมดอายุ : บัตรประจำตัวประชาชน มีอายุบัตร 6 ปี นับตั้งแต่วันออกบัตร และถ้าหากวันที่บัตรหมดอายุไม่ตรงกับวันเกิดของผู้ถือบัตร ให้นับระยะเวลาอายุบัตรต่อไปจนถึงวันครบรอบวันเกิดของผู้ถือบัตรในปีนั้น หรือปีถัดไป
หลักฐานที่นำมาแสดงในการขอมีบัตร
- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
- บัตรเดิมที่หมดอายุ
และหากผู้ถือบัตรมีความประสงค์จะทำบัตรก่อนวันที่บัตรเดิมจะหมดอายุก็สามารถทำได้ภายใน 60 วัน ก่อนวันที่บัตรเดิมจะหมดอายุ และไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการทำบัตรแต่อย่างใด
*บัตรมีอายุใช้ได้ 6 ปี เมื่อบัตรเดิมหมดอายุ ให้ทำบัตรใหม่ภายใน 60 วัน นับตั้งแต่บัตรเดิมหมดอายุโดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการทำบัตรแต่อย่างใดแต่หากไม่มาทำบัตรภายในกำหนด ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 200 บาท *
การขอเปลี่ยน บัตรกรณีบัตรเดิมชำรุด : เมื่อบัตรเดิมชำรุด ให้ทำการเปลี่ยนบัตรภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันที่บัตรเดิมชำรุด โดยนำหลักฐานมาแสดงในการขอเปลี่ยนบัตร ดังนี้
หลักฐานที่นำมาแสดงในการขอมีบัตร
- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
- บัตรเดิมที่ชำรุด
- หลักฐานที่ทางราชการออกให้ ที่มีรูปถ่ายซึ่งสามารถใช้พิสูจน์ตัวบุคคลได้
- หากไม่มีหลักฐานตามข้อ 3 ให้นำเจ้าบ้าน หรือบุคคลที่น่าเชื่อถือไปรับรองด้วย
* หากบัตรเดิมชำรุด ให้ทำการเปลี่ยนบัตรภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันที่บัตรเดิมชำรุด โดยเสียค่าธรรมเนียม 10 บาท
หากไม่มาทำบัตรภายในกำหนด ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 200 บาท *
การขอมีบัตรใหม่ กรณีบัตรหาย หรือถูกทำลาย : เมื่อบัตรหาย หรือถูกทำลาย ไม่จำเป็นต้องแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจ แต่ให้แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ สำนักทะเบียนที่ตนมีชื่อในทะเบียนบ้าน เพื่อขอทำบัตรใหม่ ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่บัตรเดิมหาย หรือถูกทำลาย โดยให้นำหลักฐานไปแสดง ดังนี้
หลักฐานที่นำมาแสดงในการขอมีบัตร
- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
- หลักฐานที่ทางราชการออกให้ ที่มีรูปถ่ายซึ่งสามารถใช้พิสูจน์ตัวบุคคลได้ เช่น ใบขับขี่ หนังสือเดินทาง คำขอมาบัตรเดิม
- หากไม่มีหลักฐานตามข้อ 2 ให้นำเจ้าบ้าน หรือบุคคลที่น่าเชื่อถือไปรับรองด้วย
* การเปลี่ยนบัตรกรณีบัตรหาย หรือถูกทำลาย ให้ทำการเปลี่ยนบัตรใหม่ภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันที่บัตรเดิมหาย หรือถูกทำลาย
โดยเสียค่าธรรมเนียม 10 บาท และหากไม่มาทำบัตรภายในกำหนด ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 200 บาท *
การขอเปลี่ยนบัตร กรณีเปลี่ยนชื่อตัว หรือชื่อสกุลในทะเบียนบ้าน เมื่อมีการเปลี่ยนชื่อตัว หรือชื่อสกุล ให้เปลี่ยนบัตรภายใน 60 วัน นับแต่วันที่แก้ไขชื่อตัว หรือชื่อสกุลในทะเบียนบ้าน โดยให้นำหลักฐานมาแสดงในการขอเปลี่ยนบัตร ดังนี้
หลักฐานที่นำมาแสดงในการขอมีบัตร
- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
- บัตรเดิม
- หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัว หรือชื่อสกุล
* หากเปลี่ยนชื่อตัว หรือชื่อสกุล ให้เปลี่ยนบัตรใหม่ภายในกำหนด 60 วัน นับแต่วันที่แก้ไขชื่อตัว ชื่อสกุลในทะเบียนบ้าน
โดยเสียค่าธรรมเนียม 10 บาท หากไม่มาทำบัตรภายในกำหนด ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 200 บาท *
การเสียค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับบัตร
- กรณีที่ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม ได้แก่ การทำบัตรครั้งแรก การทำบัตรกรณีบัตรเดิมหมดอายุ การทำบัตรกรณีพ้นจากสภาพได้รับการยกเว้น และการทำบัตรกรณีได้สัญชาติไทย
- กรณีที่ต้องเสียค่าธรรมเนียม ได้แก่ บัตรหาย บัตรถูกทำลาย บัตรชำรุด ชื่อสกุล ย้ายที่อยู่ และบุคคลที่ได้รับการยกเว้น แต่ประสงค์จะขอทำบัตร โดยเสียค่าธรรมเนียม 10 บาท
* การเสียค่าธรรมเนียมไม่เกี่ยวกับการเสียค่าปรับ การปรับเป็นผลการจากกระทำความผิดที่ไม่ทำบัตร
ภายในระยะเวลา 60 วัน ตามที่กฎหมายกำหนด *
การแจ้งย้ายที่อยู่
กรณีมีผู้ย้ายออกนอกบ้าน ให้เจ้าบ้านแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับท้องที่ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ย้ายออก
หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่แจ้งการย้ายออก
- บัตรประจำตัวผู้แจ้ง (เจ้าบ้าน)
กรณีมีผู้ย้ายเข้ามาอยู่ในบ้าน ให้เจ้าบ้านแจ้งการย้าย ต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้ง ภายใน 15 วัน นับจากวันย้ายเข้า
หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่ต้องแจ้งย้ายเข้า
- ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ตอนที่ 1 และ 2
- บัตรประจำตัวผู้แจ้ง (เจ้าบ้าน
กรณีเจ้าบ้านไม่สามารถมาแจ้งการย้ายด้วยตัวเองได้
- สามารถให้บุคคลซึ่งมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน และเป็นผู้ดูแลบ้านในขณะนั้น มาแจ้งแทนในฐานะเจ้าบ้านก็ได้ ผู้ดูแลบ้านอยู่ในบ้านจะต้องนำบัตรประจำตัวมาด้วย
- หากมอบให้บุคคลอื่นซึ่งไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านมาแจ้งแทน จะต้องนำบัตรประจำตัวผู้แจ้ง พร้อมหนังสือมอบหมายเป็นลายลักษณ์อักษร และบัตรประจำตัวเจ้าบ้านมาแสดง
กรณีแจ้งการย้ายที่อยู่ปลายทาง ผู้ย้ายที่อยู่จะเป็นผู้แจ้งย้ายออกและย้ายเข้า โดยไปแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้ง แห่งท้องที่ที่ย้ายไปอยู่ใหม่ (ปลายทาง) ภายใน 15 วัน นับแต่วันย้ายออกมาก็ได้ โดยเสียค่าธรรมเนียม 5 บาท
หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน (ปลายทาง)
- บัตรประจำตัวผู้แจ้ง
- คำยินยอมเป็นหนังสือจากเจ้าบ้าน
- บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
* เมื่อมีคนในบ้านย้ายออก หรือย้ายเข้า หากเจ้าบ้านไม่แจ้งย้ายที่อยู่ภายใน 15 วัน นับแต่วันย้ายออก
หรือย้ายเข้าแล้วแต่กรณี ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท *
การแจ้งเกี่ยวกับบ้าน
การขอมีเลขหมายประจำบ้าน
- ให้ทุกบ้านมีเลขหมายประจำบ้าน บ้านใดยังไม่มีเลขหมายประจำตัวให้เจ้าบ้านแจงต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้ง เพื่อขอเลขหมายประจำบ้านภายใน 15 วัน นับแต่วันสร้างบ้านเสร็จ (ให้เจ้าบ้านติดเลขหมายประจำบ้านไว้ในที่ซึ่งคนเห็นได้ชัดเจน)
- ผู้ใดรื้อบ้านซึ่งมีเลขประจำบ้าน โดยผู้นั้นประสงค์จะปลูกบ้านในที่ดินนั้นต่อไป หรือรื้อเพื่อปลูกในที่อื่น ในแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งภายใน 15 วัน นับแต่วันรื้อเสร็จ
หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
- บัตรประจำตัวผู้แจ้ง (เจ้าบ้าน)
- หนังสืออนุญาตให้ปลูกสร้างอาคาร
- หลักฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สำเนาโฉนดที่ดิน คำยินยอมให้ปลูกสร้างบ้าน สัญญาเช่าที่ดิน
การขอรับสำเนาทะเบียนบ้านฉบับใหม่ เนื่องจากชำรุด หรือสูญหายเสียค่าธรรมเนียม ฉบับละ 5 บาท
* ผู้ใดปลูกสร้างบ้านใหม่ หรือรื้อบ้านไม่แจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งภายใน 15 วัน นับแต่วันปลูกสร้าง หรือรื้อเสร็จ
แล้วแต่กรณี ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท *
การขอเพิ่มชื่อ และรายการบุคคลในทะเบียนบ้าน
- การเพิ่มชื่อตามหลักฐาน สูติบัตร ให้ยื่นคำร้องแห่งท้องที่ที่ออกสูติบัตร
- การเพิ่มชื่อตามหลักฐาน ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ให้ยื่นคำร้องแห่งท้องที่ ที่ประสงค์จะเพิ่มชื่อ
- การเพิ่มชื่อตามหลักฐาน ทะเบียนบ้าน ให้ยื่นคำร้องแห่งท้องที่ที่เคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านครั้งสุดท้าย
หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
- บัตรประจำตัวผู้ขอเพิ่มชื่อ
- หลักฐานที่ใช้ประกอบการขอเพิ่มชื่อ เช่น สูติบัตร ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ และทะเบียนบ้าน
การเพิ่มชื่อกรณีตกสำรวจตรวจสอบทะเบียนราษฏร พ.ศ. 2499 ให้ยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนอำเภอแห่งท้องถิ่น หรือนายทะเบียนอำเภอแห่งท้องที่ ที่ผู้ร้องมีภูมิลำเนาอยู่ในปัจจุบัน
หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน (ปลายทาง)
- หลักฐานการตรวจสอบชื่อ และรายการบุคคลในทะเบียนบ้านแห่งอื่น จากสำนักทะเบียนกลาง
- พยานบุคคล ซึ่งเป็นเจ้าบ้าน และบุคคลที่เชื่อถือได้
- หลักฐานอื่นๆ (ถ้ามี)
การขอจำหน่ายชื่อและรายการบุคคลออกจากทะเบียนบ้าน กรณีที่บุคคลมีชื่อและรายการบุคคลในทะเบียนบ้านเกินกว่าหนึ่งแห่ง
หลักฐานที่นำมาแสดงในการขอมีบัตร
- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
- บัตรประจำตัวผู้ขอจำหน่ายชื่อ
- หลักฐานที่แสดงว่าเป็นบุคคลที่มีชื่อซ้ำ
* อัตราค่าธรรมเนียม การขอคัดและรับรองสำเนารายการในทะเบียนบ้าน เสียค่าธรรมเนียมฉบับละ 10 บาท *
เรือที่ขอเลขทะเบียนบ้าน
เรือที่ขอเลขทะเบียนบ้านมีจำนวนทั้งหมด 50 ลำ
แยกตามประเภทดังนี้
1.เรือบรรทุกสินค้า จำนวน 41 ลำ
2.เรือเครน จำนวน 2 ลำ
3.เรือทุ่น จำนวน 7 ลำ
ประชากรที่ย้ายมาในทะเบียนบ้านเรือมีจำนวน 11 คน
แยกตามประเภทดังนี้
ย้ายเข้ามาในทะเบียนเรือบรรทุกสินค้า จำนวน 7 คน
ย้ายเข้ามาในเรือทุ่น จำนวน 4 คน
แยกตามรายละเอียดดังนี้
เรือบรรทุกสินค้าที่ขอทะเบียนบ้าน
- บริษัท เทพาพร
มีเรือจำนวน 31 ลำ หมู่ที่ 4 ย้ายเข้า 2 คน
- บริษัท เจ พี ทรานสปอร์ต
มีเรือจำนวน 9 ลำ หมู่ที่ 4 ย้ายเข้า 5 คน
- ห้างหุ้นส่วนจำกัด นภ ออล
มีเรือจำนวน 1 ลำ หมู่ที่ 4
- บริษัท สีชังเครน แอนด์มารีนไทม์ จำกัด
มีเรือเครนจำนวน 31 ลำ หมู่ที่ 5
- บริษัท เอส.พี.อินเตอร์ มารีน จำกัด
มีเรือทุ่นจำนวน 7 ลำ หมู่ที่ 4 ย้ายเข้า 4 คน
งานทะเบียนราษฎร
การย้ายที่อยู่
การแจ้งย้ายที่อยู่มี 3 กรณี คือ
1. การแจ้งย้ายเข้า
2. การแจ้งย้ายออก
3. การแจ้งย้ายปลายทาง
การแจ้งย้ายเข้า
หลักเกณฑ์
เมื่อมีผู้ย้ายที่อยู่เข้าอยู่ในบ้าน ให้เจ้าบ้านแจ้งการย้ายเข้าภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ย้ายเข้า อยู่ในบ้าน หากไม่ปฏิบัติตามต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1000 บาท
เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ
- สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน)
- บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
- หนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน (กรณีผู้แจ้งย้ายไม่ใช่เจ้าบ้าน)
- บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้าน
- ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ (ท.ร. 6) ตอนที่ 1 และ 2 ซึ่งเจ้าบ้านลงนามยินยอมให้ย้ายเข้าแล้ว
การแจ้งย้ายออก
หลักเกณฑ์
เมื่อผู้อยู่ในบ้านย้ายที่อยู่จากบ้าน ให้เจ้าบ้านแจ้งการย้ายออกภายใน 15 วันนับแต่วันที่ผู้อยู่ในบ้านย้ายออก หากไม่ปฏิบัติตามต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1000 บาท
เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ
- สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน)
- บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
- หนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน (กรณีผู้แจ้งย้ายไม่ใช่เจ้าบ้าน)
- บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้าน
- บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ของผู้ย้าย
การแจ้งย้ายปลายทาง
หลักเกณฑ์
ผู้ย้ายที่อยู่สามารถติดต่อขอแจ้งย้ายต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่ผู้นั้นอาศัยอยู่ใหม่ได้ โดยไม่ต้องกลับไปภูมิลำเนาเดิมที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ
- สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน)
- บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
- บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ย้าย
สิทธิประโยชน์ที่ท่านจะได้รับเมื่อย้ายทะเบียนบ้านเข้ามาเป็นประชากรในเขตพื้นที่อำเภอเกาะสีชัง
- ด้านความมั่นคงภายในและความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน
– ป้องกันปัญหาอาชญากรแฝง หรือผู้กระทำความผิดกฏหมาย หลบหนีคดี มาอาศัยอยู่กับญาติพี่น้องในเรือ และพร้อมที่จะก่อคดีในพิ้นที่เมื่อสบโอกาส
– ป้องกันปัญหาแรงงานต่างด้าวหลบนี้เข้าเมืองโดยมิ
ชอบด้วยกฎหมาย ป้องกันปัญหาการก่อการร้ายข้ามชาติ ซึ่งเป็นภัยต่อบ้านเมืองและประเทศชาติ - ด้านสาธารณสุข สิทธิและการดูแลจากหน่วยงานของรัฐ ตามกฎหมาย อาทิ
– สิทธิจะได้รับบริการรักษาพยาบาลจากเรือกู้ชีพกู้ภัย ซึ่งมีอุปกรณ์ในการแพทย์พร้อมให้ความช่วยเหลือ หากเกิดอุบัติตุ และเจ็บป่วยฉุกเฉินอย่างทันท้วงที ณ จุดเกิดเหตุ อย่างรวดเร็ว ปลอดภัย อย่างรวดเร็ว ถูกต้องตามมาตรฐาน
– สิทธิที่จะได้รับการดูแลจากโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (30 บาท รักษาทุกโรค)
– สิทธิจะได้รับการดูแลจากโครงการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช)
– นอกจากนี้ ยังได้รับสิทธิประโยชน์ในการได้รับการ
จัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมตามรายหัวประชากรในลักษณะ เหมาจ่าย จำนวน 2,895.09 บาท ต่อคน เพื่อเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเขตพิ้นที่ - ด้านคุณภาพชีวิต
– เมื่อย้ายทะเบียนบ้านเข้ามาอยู่ในเขตเทศบาลตำบลเกาะสีชัง จะได้รับสิทธิเข้าเป็นสมาชิกกองทุนต่างๆ อาทิเช่น กองทุนหมู่บ้าน, กองทุนสตรี, ฯลฯ โครงการบ้านมั่งคง
– ได้รับบริการและอำนวยความสะดวก เรือรับ –ส่ง ให้ขึ้นมาบนเกาะสีชังเพื่อซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค วันละ 2 รอบ (เช้า – เย็น)
– ได้รับบริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง (WiFi) ฟรี - ด้านการศึกษา
– บุตรหลาน จะได้ศึกษาเล่าเรียนในสถานศึกษาแบบประจำ ซึ่งผู้ปกครองที่เป็นพนักงาน เรือโป๊ะ หรือทุนขนถ่ายสิ้นค้า สามารถมาเยี่ยมบุตรหลานของตนได้ตลอดเวลา มีที่พักค้างคืนในราคาประหยัด
– บุตรหลานจะได้รับสิทธิต่างๆ อาทิ เรียนฟรี 15 ปี โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โครงการอาหารกลางวัน อาหารเสริม (นม) ฯลฯ
– บุตรหลาน จะได้รับการส่งเสริมในเรื่องภาษาต่างประเทศ อาทิ เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาเวียดนาม ฯ - ด้านเศรษฐกิจและสังคม
– ทะเบียนบ้าน ใช้เป็นข้อมูลสำคัญในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของท้องถิ่นและประเทศ
– เทศบาลจะได้รับการจัดสรรภาษี และเงินอุดหนุนเพิ่มเติม โดยเฉพาะเงินอุดหนุนที่จัดสรรตามจำนวนของประชากรเพื่อใช้ในการพัฒนาท้องถิ่นให้ครอบคลุมครบทุกๆด้าน
“เพื่อให้ทุกคนที่อยู่อาศัย หรือประกอบการอาชีพที่เกาะสีชังมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น เทศบาลตำบลเกาะสีชัง จึงขอความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ผู้ประกอบการร้านค้า ร้านอาหาร ที่พัก โรงแรม รีสอร์ท บังกะโล และผู้ประกอบการเรือ แพ ทุ่นขนถ่ายสินค้าในพื้นที่อำเภอเกาะสีชัง ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 โดยการย้ายทะเบียนบ้านเข้ามาเป็นประชากรตาม ทะเบียนราษฎรในเขตเทศบาลตำบลเกาะสีชัง”